จรูญธรรม


หน้าแรก | วัตถุประสงค์ | ประวัติพ่อจรูญ | จรูญธรรม | เพลงธรรมะ | ลูกจริยา

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

โลกนี้เป็นอนิจจัง


  • โลกนี้ ชีวิตเป็นอนิจจัง ไม่ยั่งยืนไม่จีรัง เป็นอนิจจังโดยทั่วไป ไม่ยั่งยืนวันและคืนย่อมเปลี่ยนแปลง ไปทั่วทุกตำแหน่ง ไม่ยกเว้นอะไร นี่เป็นธัมจักร์ ที่มันเป็นหลักที่ต้องเปลี่ยนไป แม้วาระจิตใจก็ยังเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนกงกรรมกงเกวียน ที่มันหมุนเวียน ให้เกวียนได้เคลื่อนไปมา อาศัยกงกรรมเป็นธรรมดา เกวียนจึงเคลื่อนไปมา นี่อนิจจาที่เปลี่ยนไป

  • มนุษย์มีสุขในยุคพัฒนา เพลิดเพลินอยู่ในโลกา ขุดค้นหาทรัพย์สินทั่วไป ประดิษฐ์คิดสร้างดูช่างศรีวิไล ลุ่มหลงอยู่ในโลกที่ต้องโศรกกาเม ธัมจักร์ที่เป็นหลักอนิจจา ผู้ไม่มีปัญญาก็หลงใฝ่คว้ามาประโลม คิดว่ามีสุขกับสมบัติผุเสื่อมโทรมประเล้าประโลม บ้างจู่โจมแย่งชิง

  • อนิจจามีปัญญาเห็นไม่เที่ยง หากไม่คิดหลีกเลี่ยง ยังมัวเสี่ยงทั้งชายและหญิง ก็ต้องหลงเวียนวน เพราะตนไม่เห็นความจริง ร้ายที่จะพักพิง นี่เป็นสิ่งที่ได้มา ของในโลกก็ต้องอยู่กับโลก ยามต้องวิโยคจากโลกด้วยมรณา เราตายจากโลกแล้วก็ต้องโศรกโสกา สมบัติมิได้พา แม้แต่กายาก็ต้องเผาไฟ ของจะได้ก็คือบุญกุศลที่เราได้สร้างไว้กับตน นี่แหละเป็นผลที่ได้ไป คืออริยาทรัพย์ เป็นทรัพย์ภายใน ที่บังเกิดกับจิตใจไม่มีผู้ใดจะแย่งชิง ชิงเอาไปไม่ได้ เพราะเป็นนามธรรม เป็นทรัพย์อันเลิศล้ำ ที่คอยอุปถัมภ์ดียิ่ง ไปอยู่เมืองผีก็จะได้มีทรัพย์จริง ได้เป็นที่พึ่งพิง เป็นของดียิ่ง ชั่วกาลนานฯ

  • บุญกุศลนั้นจะได้กันอย่างไร เริ่มต้นตั้งแต่ทานมัยที่เราตั้งใจด้วยศรัทธา ให้ทานด้วยดีประกอบด้วยมีปัญญาและตั้งใจรักษาศีลห้า เว้นจากเวราทุกประการศีลห้าข้อก็เป็นทรัพย์ภายใน ใครรักษาประจำใจก็จะพ้นภัยในสงสาร ยามเมื่อตายไป ก็จะติดใจเป็นสันดาร ไม่ต้องทุกข์ทรมาร ตลอดกาล นั่งภาวนาฯ

  • ภาวนามัย บุญสำเร็จจากการภาวนา เพื่อให้เกิดวิชาจะได้รักษากายใจพอกายสงบก็พบพระธรรมภายใน ร่างกายสงบไป ยังเหลือแต่ใจกับชีวา ใจยังตรึกยังนึกยังตรอง แต่ส่วนร่างกายไม่เกี่ยวข้อง มันเป็นทำนองอนัตตา นี่คือขันธ์ห้าส่วนรูปกาย กายดับหมด ยังปรากฎอยู่ที่ใจ หลักภาวนามัย เพื่อให้กุศลเกิดมา เราต้องระวัง ต้องใช้กำลังปัญญา ยึดมั่งอุเบกขา ป้องกันอวิชชา จะครอบงำปล่อยวาง อย่าไปยินร้ายยินดี กับสิ่งนี่เกิดมี เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นกายธรรมยึดอุเบกขา นั่งภาวนาประจำ เราจะรู้เห็นในกายธรรม เป็นสื่อชักนำเกิดปัญญา ปัญญาความรู้เห็นก็จะเกิดเป็นในรูปขันธ์ห้า ปรากฎแน่ชัดเป็นอนัตตา เราจะเห็นขันธ์ห้า แยกจากกันใจนั้นอยู่แต่ใจ ไม่มีอะไรมาผูกสำพัน จิตอยู่เหนือกายเพราะไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ความรู้สึกในรูปขันธ์ ก็หมดสำพันในอารมณ์ ใจดิ่งนิ่งเป็นอารมณ์เดี่ยวสิ่งอื่นไม่ข้องเกี่ยว เป็นอารมณ์เดี่ยวตั้งมั่น หมดเวทนาสารพัน เหลือแต่สัญญาความจำมั่นในชีวา ส่วนสังขารวิญญาณนั้นดับ คงเหลือพระธรรมมารองรับ ประคองประดับดวงชีวา พระธรรมทั้งสองประดับประคองพ้นโลกา ด้วยยึดมั่นอุเบกขา หากมีปัญญาเห็นพระนิพพานฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น